2555-04-26

การถ่ายภาพทิวทัศน์ Landscape Photography



การถ่ายภาพทิวทัศน์ Landscape Photography (FOTOINFO)
          การถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือที่นักถ่ายภาพบ้านเรานิยมเรียกทับศัพท์ว่า แลนด์สเคป (Landscape) เป็นหนึ่งในหมวดหมู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของการถ่ายภาพ ซึ่งในการจะถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ให้ออกมาสวยงามไม่ได้มีเทคนิคอะไรที่ซับซ้อน  แต่สำหรับมือใหม่ก็อาจไม่ใช่เรื่องง่าย
         
คำว่า ภาพวิวทิวทัศน์ที่ดี อาจมองได้หลายมุม บ้างว่าต้องแสงสวย บ้างเน้นที่การจัดวางองค์ประกอบของภาพ บางคนว่าต้องมีอารมณ์อยู่ในนั้น บางความเห็นว่าต้องเป็นภาพที่มีความลึก และอีกสารพันคำตอบที่จะว่าไปแล้วก็แทบไม่มีข้อได้ผิด สำหรับมุมมองในส่วนของผู้เขียนเอง เห็นว่าทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องไม่อาจละเลยได้ทั้งสิ้น ทว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ภาพวิวทิวทัศน์ภาพนั้น ๆ มีคุณค่ามีความหมาย ภาพ ๆ นั้น จะต้องสามารถแสดงความเป็นเอกลักษณ์ หรือจุดเด่นของสถานที่นั้น ๆ ออกมาให้ได้มาที่สุด และเงื่อไขอันจำเป็นที่จะเอื้อให้เกิดภาพอย่างที่ว่ามานั้นก็ขึ้นอยู่กับเรื่องของ "เวลา"
         
ผู้ถ่ายภาพควรต้องมีเวลาให้กับสถานที่หนึ่ง ๆ มากเพียงพอ อย่างน้อย ๆ ควรมากกว่าหนึ่งวันขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อสำรวจสถานที่ให้ละเอียด ค้นหาจุดเด่นของสถานที่ให้เจอ พร้อมกำหนดมุมภาพ กำหนดทางยาวโฟกัสของเลนส์ และกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพนั้น ๆ  

 เทคนิคพื้นฐานของการถ่ายภาพทิวทัศน์
          โดยทั่วไปแล้วการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ไม่ค่อยมีเทคนิคอะไรที่ซับซ้อน เพียงเน้นให้ภาพมีความคมชัด และสีสันที่สดใสเป็นหลัก และเป็นภาพในลักษณะที่ต้องการช่วงความชัดค่อนข้างมากเป็นพิเศษ คือมีความชัดตั้งแต่ฉากหน้าไปจนฉากหลังที่เป็นทิวเขาหรือท้องฟ้า ดังนั้นการฝึการควบคุมช่วงความชัดให้ได้ตามใจต้องการจึงเป็นสิ่งสำคัญ

          
ปัจจัยแรกที่ส่งผลโดยตรงต่อช่วงความชัดก็คือ ช่องรับแสง หรือ เอฟนัมเบอร์ (F-STOP) การใช้ช่องรับแสงกว้าง ระหว่าง f/1.4 – f/4 จะส่งผลให้มีช่วงความชัดเกิดขึ้นน้อยอย่างที่เรียกกันว่า "ชัดตื้น" คือมีความชัดเกิดขึ้นเฉพาะในบริเวณจุดโฟกัสเท่านั้น ที่ไกลออกไปก็จะเบลอ ตรงกันข้ามกับการใช้ช่องรับแสงแคบ ตั้งแต่ f/11 ขึ้นไปที่จะส่งผลให้มีช่วงความชัดเกิดขึ้นมาก อย่างที่เรียกกันว่า "ชัดลึก" ซึ่งเหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์มากกว่า

         
ปัจจัยตัวที่สองที่มีผลต่อช่วงความชัดก็คือ ตำแหน่งในการโฟกัสภาพ ลักษณะในการเกิดช่วงความชัดของภาพจะมีระยะเกิดขึ้นหน้าจุดโฟกัสหนึ่งส่วน และเกิดหลังจุดโฟกัสสองส่วน เป็นอัตราส่วน 1:2 อย่างนี้เสมอ หากทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้ทะลุปรุโปร่งแล้ว จะทำให้เราสามารถสร้างช่วงความชัดที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยการใช้เพียงช่องรับแสงกลาง ๆ เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ช่องรับแสงแคบ ๆ เสมอไป การโฟกัสภาพไปที่ระยะทางหนึ่งในสามของภาพนี้มีชื่อเรียกว่า "Hyper Fogus"


แสง ปัจจัยสำคัญลำดับต้น ๆ ของการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
          แสงที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์นอกเหนือช่วงเวลาที่ฟ้าเปลี่ยนสีในยามพระอาทิตย์ขึ้น-ตก ก็คือแสงเฉียง ๆ ของยามเช้า และบ่ายแก่ ๆ ในทิศทางตามแสง เนื่องจากแสงลักษณะนี้จะทำให้ภาพวิวทิวทัศน์ดูมีมิติสวยงาม ทำให้ภาพถ่ายที่เป็นสื่อสองมิติอันแบนราบดูมีมิติที่สามหรือความลึกเกิดขึ้นแก่ผู้ชมภาพได้
    ทว่าสิ่งเหล่านี้มิใช่กฎเกณฑ์อันควรนำมาผูกมัดกับการถ่ายภาพอยู่ตลอดเวลา นักถ่ายภาพที่ดีควรรู้จักการพลิกแพลง เปลี่ยนแปลงนำสิ่งที่ดีที่สุดมาปรับใช้กับการถ่ายภาพของตนเอง
 อุปกรณ์ที่จำเป็นในการ ถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
          แม้จะเป็นการถ่ายภาพในยุคซอฟท์แวร์ครองเมือง ที่แทบทุกเรื่องสามารถแก้ไข ดัดแปลง ตกแต่ง รีทัช ราวกับจะเสกสรรค์ปั้นแต่งขึ้นมาได้จากหน้าจอและเพียงปลายนิ้วสัมผัสบนคีย์บอร์ด ทว่ายังมีอุปกรณ์ทางกายภาพบางชนิดที่ยังคงความจำเป็นในระดับ "ขาดเธอขาดใจ" อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ "ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (Polarizing Filter)
          หน้าที่หลักของฟิลเตอร์ชนิดนี้คือ การตัดแสงโพลาไรซ์ หรือก็คือ แสงสะท้อนสีขาว ๆ ที่เกิดบนวัตถุที่มีผิวเรียบหรือมันวาว เช่น ผิวน้ำ ใบไม้ที่มีความมัน กระจก ฯลฯ โดยสวมฟิลเตอร์โพลาไรซ์ไว้หน้าเลนส์ หมุนหาตำแหน่งที่จะตัดแสงสะท้อนออกไปในปริมาณที่พอใจ ซึ่งผลของการใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้สามารถสังเกตได้ทันทีจากในช่องเล็งภาพ จึงเป็นเรื่องง่ายในการใช้งานและประหยัดเวลากว่าการมาแก้ไขในภายหลัง
          นอกจากนี้ ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ ยังช่วยให้สีสันของท้องฟ้ามีความเข้มขึ้น ทำให้ปุยเมฆขาว ๆ มีรายละเอียด ทั้งนี้ มีข้อแม้ว่าท้องฟ้านั้นต้องเป็นสีฟ้าอยู่ก่อนแล้ว มิใช่ขาวซีดไร้สีสัน และมุมที่จะถ่ายต้องอยู่ในทิศทางตามแสง
          อย่างไรก็ดี แม้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์จะช่วยตัดแสงสะท้อน และเพิ่มความเข้มของสีท้องฟ้า แต่ในอีกด้านหนึ่งมันเป็นฟิลเตอร์ที่กินแสงมากถึง 2 สตอป หมายความว่าที่ช่องรับแสงเท่าเดิม เมื่อใส่ฟิลเตอร์โพลาไรซ์เข้าไปที่หน้าเลนส์แล้ว ความไวชัตเตอร์ที่ได้จะต่ำลงมาอีก 2 สตอปนั่นเอง จึงอาจจำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพอีกอย่างหนึ่งเข้ามาช่วยเพื่อให้ได้ภาพที่มีทั้งช่วงความชัด(ลึก) และความคมชัดควบคู่กันไป
          ขาตั้งกล้อง ยังคงเป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับนักถ่ายภาพผู้ฝักใฝ่ในคุณภาพสูงสุดอยู่ดี โดยเฉพาะในสภาพแสงช่วงเช้า ๆ หรือเย็น ๆ ซึ่งมีปริมาณและความเข้มของแสงน้อย เป็นเรื่องปกติที่จะให้ความไวชัตเตอร์ต่ำถึงต่ำมาก ประกอบกับที่ต้องใช้ช่องรับแสงแคบ ระบบลดความสั่นไหวในตัวกล้องหรือเลนส์จึงไม่อาจช่วยได้ทุกครั้งไป ขาตั้งกล้องจึงนับเป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพที่ผู้หลงใหลการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์จะขาดเสียมิได้ 

          สำหรับขาตั้งกล้องที่ดีในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ คือขาตั้งกล้องขนาดใหญ่และมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ขาตั้งขนาดใหญ่และหนักจะทำให้กล้องมีความมั่นคงและนิ่งสนิทจริง แม้เมื่อมีลมปะทะ แม้ในยามที่ต้องตั้งกล้องไว้กลางลำธาร หรือแม้ตั้องปักรับรับแรงกระแทกของคลื่นลมริมหาดทราย 
          พึงจำไว้ว่าขาตั้งที่เล็กและเบานั้นดีเฉพาะตอนแบก แต่มันแทบจะไร้ประโยชน์ตอนใช้งานจริง ส่วนขาตั้งกล้องที่ใหญ่และหนักแม้ว่าจะดูเทอะทะเป็นภาระ และทำให้ช้าเวลาถ่ายภาพ แต่มันจะมีประโยชน์มาก ๆ เมื่อถึงเวลาต้องใช้งานจริง



ข้อมูลจาก kapook.com





การเขียนลายรดน้ำลงรักปิดทอง

การเขียนลายรดน้ำลงรักปิดทอง



ประวัติงานลายรดน้ำ
           งานศิลปะลาย รดน้ำลงรักปิดทองเป็นงานประณีตศิลป์ของไทยจัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่ มีวิวัฒนาการตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 – 23 เป็นช่วงงานศิลปะลายรดน้ำลงรักปิดทองเจริญรุ่งเรืองที่สุดและได้รับการ ยกย่องว่าเป็นฝีมือชั้นบรมครู ดังปรากฏหลักฐานชัดเจน เช่น ตู้พระธรรมฝีมือช่างเชิงหวาย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กทม.)




        ต่อมาช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 – 4 เป็นช่วงที่ศิลปะมีการแพร่หลายและเฟื่องฟู โดยภาพเขียนลายรดน้ำบางส่วนได้รับอิทธิพลจากจีนและชาติตะวันตกมาผสมผสาน หลังรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาก็ได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตกมากขึ้น งานศิลปะลายรดน้ำจึงเกือบจะเป็นตำนานทางมรดกศิลปวัฒนธรรม เพราะปัจจุบันการเขียนลายรดน้ำมีเพียงการเขียนซ่อมแซมหรือบูรณปฏิสังขรณ์ผล งานเก่าในอดีตเป็นหลักเท่านั้น
ที่มา : หนังสือศิลปะลายรดน้ำ ของ สนั่น รัตนะ
    แผ่นทองคำเปลว
     ชนิดของแผ่นทองคำเปลวแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
       ทองคัด หมายถึง แผ่นทองคำเปลวที่คัดตามขนาดกำหนดโดยไม่มีรอยต่อของแผ่นทอง ซึ่งทองคัดนี้จะมีราคาค่อนข้างแพง
       ทองต่อ หมายถึง แผ่นทองคำเปลวที่มีการตัดต่อแผ่นทองโดยอาจมีการนำแผ่นทองคำเปลวมาต่อกันมากกว่า 1 แผ่น ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าทองคัด

ประเภทของทองคำที่นำมาทำแผ่นทองคำเปลว
แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
        ทองแดง หมายถึง ทองเปลวที่ทำมาจากแผ่นทองคำที่บริสุทธิ์ 99.99% หรือช่างตีทองเรียกอีกอย่างว่าทองซัว แผ่นทองที่ตีออกมาแล้วสีจะมีสีเหลืองอร่ามออกแดง
        ทองเขียว หมายถึง ทองเปลวที่ทำมาจากแผ่นทองคำที่บริสุทธิ์ 97.0% ซึ่งจะมีความบริสุทธิ์น้อยกว่าทองแดง แผ่นทองที่ตีออกมาแล้วสีจะมีสีเหลืองอร่ามออกเขียว


ลงรักปิดทอง  


เป็นศิลปของไทยอีกแขนงหนื่งครับ
ใช้รักทาบริเวณที่ต้องการปิดทอง
แล้วนำแผ่นทองคำเปลวไปปิดบริเวณที่ทารักไว้
แล้วล้างออก จะทำให้เกิดลวดลายที่สวยงามน่าพิศวงมากครับ 

การลงรัก  คือใช้ยาง จากต้นรัก  ยางมีสีดำ  เหนียว  คล้ายกาว  
ยางรัก เมือถูก หรือสัมพันธ์ผิวหนังจะมีอาการ คัน  เรียกว่าแ้พ้รัก
เมื่อทารักเสร็จ  ก็เอาทองคำเปลว  ปิดลงไป
เค้าจึงเรียกว่า ลงรักปิดทองงานที่ออกมา จะคงทน สวยงาม















เทคนิคการถ่ายภาพมุมสูงด้วยอุปกรณ์ว่าว



            เอนทรี่นี้อาจไม่เกี่ยวกับเรื่องการวาดโดยตรงนัก เป็นเรื่องของเทคนิคการถ่ายภาพจากมุมสูง ซึ่งเทคนิคนี้สามารถนำมาประยุคใช้ได้ดีหากใครต้องการภาพวิวจากมุมสูงมาใช้เป็นแบบในการวาดภาพ





เทคนิคการวาดภาพล้อ Portrait of Bradly Cooper



เทคนิคการวาดภาพล้อ Portrait of Bradly Cooper
introduction
          ในเอนทรีนี้ผมจะหยิบเอาเทคนิคการวาดภาพล้อแนวเสมือนจริงมาเขียน ตั้งแต่เริ่มต้นที่วาดภาพนี้ ผมได้บันทึกเป็นสเต็ปการวาด อาจจะไม่ละเอียดเท่าไหร่ แต่หวังว่าจะมีประโยขน์บ้างสำหรับคนที่จะเริ่มต้นวาดภาพในโปรแกรม Adobe Photoshop ในตัวอย่างนี้ผมใช้เวอร์ชั่น Cs5 นะครับ ซึ่งเทคนิคการวาดของผมก็ไม่ได้แตกต่างกันเลยหากใช้เวอร์ชั่นก่อน เพราะเครื่องมือที่ผมใช้ก็มีอยู่แค่ไม่กี่ตัวครับ ส่วนภาพแบบนั้นตามภาพ (P1)

step1 เริ่มต้นกันเลย

         ในที่นี้ผมผมสร้างชิ้นงานใน Ps ด้วยขนาด กว้าง 12 X ยาว 17 cm resolution 300 dpi จากนั้นก็นำภาพ sketch ที่ผมได้ร่างคร่าวๆไว้ในกระดาษเข้ามา แล้วปรับให้ได้ขนาดกับชิ้นงาน โดยผมจะให้ layer ภาพร่างอยู่เหนือ background layer สีขาว ในที่นี้ผมใช้ชื่อ layer ว่า sketch? จากนั้นสร้าง layer ขึ้นมาเพิ่มให้อยู่เหนือภาพ sketch ไว้สำหรับลงสี เปลี่ยนชื่อเป็น color layer ดังภาพ (p2)

step2 ปรับ brush

        ก่อนที่จะลงสีเราต้องปรับ brush ให้เหมาะสมกับการใช้งานก่อนนะครับ ตามความชอบของแต่ละคน ในที่นี้ผมใช้ Soft Round Brush ขนาด 35 ค่า Hardness 50 ดังภาพ (P3)






step3 เริ่มลงสี
         เริ่มลงสีคร่าวๆให้เป็นรูปเป็นร่างใน color layer? เทคนิคการลงสีของผมนั้นจะเริ่มจากระบายสีโทนกลางๆโดยสังเกตสีผิวภาพต้นแบบ ลงสีให้เติมพื้นที่ของชิ้นงานก่อน แล้วก็ค่อยๆปรับส่วนที่มืดกับส่วนที่สว่าง ทำไปเรื่อยๆจนได้คร่าวๆดังภาพ (p4) ระบายพื้นหลังลงไปด้วยก็ได้นะครับ แนะนำให้ระบายใน background layer นะครับจะสะดวกมากขึ้น ในที่นี้ผมลงสีใน color layer ทั้งหมด




step4

         ทำเช่นเดิม ค่อยๆเติมรายละเอียดเข้าไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขั้นตอนนี้ยังอยู่ใน color layer (ภาพ p5 และ p6) ส่วนของถาดสีที่ผมระบายเป็นแถบด้านข้าง ผมผสมสีทิ้งไว้เพื่อความสะดวกในการเลือกใช้สีครับ วิธีการเลือกใช้ก็คือขณะที่ใช้เครื่องมือ Brush อยู่นั้นเมื่อกด Alt บนคีบอร์ดค้างไว้เม้าส์เราก็จะกลายเป็น eyedropper tool ซึ่งจะใช้จับสีในชิ้นงานที่เรากำลังทำได้ เป็นการลดเวลาในการหาสีลง สำหรับใครที่ทำถาดสีใช้เองก็แนะนำให้สร้างlayer ใหม่ไว้บนสุดนะครับ




step5 เริ่มใส่เส้นผมและหนวดเครา

        ในการวาดเส้นผมนั้นใน tutorial นี้ผมใช้เทคนิคง่ายๆ อาจจะไม่ได้เส้นผมที่ละเอียดมากนักนะครับ มาเริ่มเลยดีกว่า อันดับแรกลงสีผมหยาบๆโดยปรับ brush ตามนี้ครับ ใช้ Soft Round Brush ขนาด 25 ในส่วนของBrush Panel นั้น ผมติ๊กเลือก Transfer แล้วเลือก Control เป็น Pen Pressure และปรับค่า Flow Jitter เป็น 40 ตามภาพ (p7) หลังจากนั้นก็ลงสีผมหยาบๆเป็นเส้นใหญ่ๆดังภาพ (p8) ในภาพจะเห็นว่าผมวาดเคราไปนิดหน่อย เดี๋ยวผมจะอธิบายทีหลังนะครับ



 

step6
         เมื่อวาดเส้นผมคร่าวๆพอดูให้เห็นมิติแล้ว ขั้นต่อไปก็เริ่มใส่รายละเอียดเส้นผมให้สวยงามกันเลย ใช้ Soft Round Brush ขนาด 1 หรือ 2ก็ได้ ใน Brush Option Panel ติ๊กที่ Shape Dinamics ตามภาพ(P9) สำหรับค่า brush ตัวนี้ผมใช้ในการวาดหนวดเคราและคิ้วเช่นเดียวกัน เมื่อปรับค่าเสร็จแล้ว ให้เลือกใช้สีที่สว่างกว่าเดิมค่อยๆขีดเส้นเติมมิติให้เส้นผมไปทีละนิด ถ้าส่วนไหนที่ต้องการความเข้มก็ใช้สีดำหรือโทนสีมืดใส่เข้าไป เรื่องสีเส้นผมนั้นให้สังเกตภาพต้นแบบดีดีนะครับ เราจะสังเกตว่าสีที่เกิดจาก reflection มันจะผิดไปจากโทนของเส้นผม ซึ่งถ้ามีสีที่เกิดจาก reflection หรือการสะท้อนจากวัตถุรอบข้างรวมไปถึงแสงที่มาจากจุดกำเนิดอื่นนั้น ก็ให้ใส่รายละเอียดลงไปด้วยนะครับเพื่อความสมจริง แสงและสีพวกนี้จะเห็นได้จากการสังเกต เมื่อใส่รายละเอียดได้ส่วนหนึ่งแล้วก็จะได้ดังภาพ (P10)



step7 วาดหนวดเคราคิ้ว



         เทคนิคการวาดหนวดเคราคิ้วนั้นก็เหมือนกันการวาดเส้นผม ผมค่อยๆเขียนไปทีละเส้นจนได้เป็นหนวดเป็นเคราเป็นคิ้ว เทคนิคเพิ่มเติมคือเส้นบางเส้นจะเล่นกับแสงมากจนสว่าง ดังนั้นผมจึงใช้สีขาวขีดแกมลงไปทำให้ดูมีมิติมากขึ้น เมื่อวาดเสร็จก็เก็บรายละเอียดส่วนอื่นๆให้สมบูรณ์ก็เป็นอันเสร็จ ดังภาพ (p11-p12)


สรุป บรา บรา บรา



          ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะสังเกตได้ว่าเครื่องมือที่ใช้ไม่มีอะไรมากซึ่งก็เหมือนกับการวาดสีน้ำมันลงผืนผ้าใบเลย ความยากง่ายของการวาดใน Photoshop กับสีจริงนั้นแล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน สุดท้ายการวาดภาพให้ออกมาดีนั้นไม่ใช่พรสวรรค์ที่จะตัดสินครับ ความอดทนความเอาใจใส่บวกกับการสังเกตและความคิดสร้างสรรค์เท่านั้นครับที่ขับให้ผลงานคุณออกมาบรรเจิด....เป็นกำลังใจให้ทุกๆคน








2555-04-24

การวาดเส้น (Drawing)


ภาพ Male nude โดย Annibale Carracci ศตวรรษที่ 16


                   การวาดเส้น (Drawing) เป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และการออกแบบ โดยการสร้างภาพสองมิติโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ ดินสอ ปากกาและหมึก เครยอง ดินสอสี ดินสอถ่าน ชอล์ก ชอล์กสี ปากกามาร์กเกอร์ ปากกาหมึกซึม ซึ่งโดยมากจะเขียนลงบนกระดาษ หรือวัสดุอื่นอย่าง กระดาษแข็ง พลาสติก หนัง ผ้า กระดาน สำหรับการเขียนชั่วคราวอาจใช้กระดานดำหรือกระดานขาว หรือบนอะไรก็ได้






ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



ศิลปะการแสดง (performing arts)


Isadora Duncan ศิลปะการแสดงประเภทหนึ่ง พัฒนามาจากฟรีแดนซ์


           ศิลปะการแสดง (performing arts) คือ การแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึกและเรื่องราวต่างๆ ประกอบด้วยดนตรี นาฏศิลป์ และการแสดงประเภทต่างๆ
          สำหรับความหมายของศิลปะการแสดง อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีกให้ความหมายไว้ว่า "ศิลปะการแสดง คือ การเลียนแบบธรรมชาติ" และ ลีโอ ตอลสตอย ให้ความหมายไว้ว่า "ศิลปะการแสดง เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งระหว่างมนุษย์ ด้วยการใช้คำพูดถ่ายทอดความคิด และศิลปะของการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก"
         ประเภทของศิลปะการแสดง เช่น ดนตรี การละคร การเต้นรำ

ข้อมูลจากจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

2555-04-23

สถาปัตยกรรม (architecture)


                  สถาปัตยกรรม (architecture) หมายรวมถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆอีกด้วย




               จุดสนใจและความหมายของศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
                - บทความ De Architectura ของวิทรูเวียส ซึ่งเป็นบทความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ที่เก่าแก่ที่สุดที่เราค้นพบ ได้กล่าวไว้ว่า สถาปัตยกรรมต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสามส่วนหลักๆ ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวและสมดุล อันได้แก่
·                    -  ความงาม (Venustas) หมายถึง สัดส่วนและองค์กระกอบ การจัดวางที่ว่าง และ สี,วัสดุและพื้นผิวของอาคาร ที่ผสมผสานลงตัว ที่ยกระดับจิตใจ ของผู้ได้ยลหรือเยี่ยมเยือนสถานที่นั้นๆ
·                   -   ความมั่นคงแข็งแรง (Firmitas)
·                   -  ประโยชน์ใช้สอย (Utilitas) หมายถึง การสนองประโยชน์ และ การบรรลุประโยชน์แห่งเจตนา รวมถึงปรัชญาของสถานที่นั้นๆ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศิลปะภาพพิมพ์ ( Printmaking)



          ภาพพิมพ์ โดยความหมายของคำย่อมเป็นที่เข้าใจชัดเจนแล้วว่า หมายถึงรูปภาพที่สร้างขึ้นมาโดยวิธีีการพิมพ์ แต่่สำหรับคนไทยส่วนใหญ่เมื่อพูดถึง ภาพพิมพ์อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักว่าภาพพิมพ์คืออะไรกันแน่ เพราะคำๆนี้เป็นคำใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้กันมาประมาณเมื่อ 30 ปี มานี้เอง
          โดยความหมายของคำเพียงอย่างเดียว อาจจะชวนให้เข้าใจสับสนไปถึงรูปภาพที่พิมพ์ด้วยกรรมวิธีการพิมพ์ทางอุตสาหกรรม เช่น โปสเตอร์ ภาพพิมพ์ที่จำลองจากภาพถ่าย หรือภาพจำลองจิตรกรรม อันที่จริงคำว่า ภาพพิมพ์ เป็นศัพท์เฉพาะทางศิลปะที่หมายถึง ผลงานวิจิตรศิลป์ที่จัดอยู่ในประเภท ทัศนศิลป์ เช่นเดียวกันกับจิตรกรรมและประติมากรรม
          ภาพพิมพ์ทั่วไปมีลักษณะเช่นเดียวกับจิตรกรรมและภาพถ่าย คือตัวอย่างผลงานมีเพียง 2 มิติ ส่วนมิติที่ 3 คือ ความลึกที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ ภาษาเฉพาะของทัศนศิลป์ อันได้แก่ เส้น สี น้ำหนัก และพื้นผิว สร้างให้ดูลวงตาลึกเข้าไปในระนาบ 2 มิติของผิวภาพ แต่ภาพพิมพ์มีลักษณะเฉพาะที่ี่แตกต่างจากจิตรกรรมตรงกรรมวิธีการสร้างผลงานที่จิตรกรรมนั้น ศิลปินเป็นผู้สร้างสรรค์ขีดเขียน หรือวาดภาพระบาย สีลงไปบนผืนผ้าใบ กระดาษ หรือสร้างออกมาเป็นภาพโดยทันที แต่การสร้างผลงานภาพพิมพ์ศิลปินต้องสร้างแม่พิมพ์ขึ้นมาเป็นสื่อก่อน แล้วจึงผ่านกระบวนการพิมพ์ ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพที่ต้องการได้
          จากกรรมวิธีในการสร้างผลงานด้วยการพิมพ์นี้เอง ที่ทำให้ศิลปินสามารถสร้างผลงาน ต้นแบบ ( Original) ที่ี่เหมือนๆกันได้หลายชิ้น เช่นเดียวกับผลงานประติมากรรม ประเภทที่ปั้นด้วยดินแล้วทำแม่พิมพ์หล่อผลงานชิ้นนั้นให้เป็นวัสดุถาวร เช่นทองเหลือง หรือสำริด ทุกชิ้นที่หล่อออกมาถือว่าเป็นผลงาน ต้นแบบ มิใช่ผลงานจำลอง ( Reproduction) ทั้งนี้เพราะว่าภาพพิมพ์นั้นก็มิใช่ผลงานจำลองจากต้นแบบที่เป็นจิตรกรรมหรือวาดเส้น แต่ภาพพิมพ์เป็นผลงานสร้างสรรค์ ที่ศิลปินมีทั้งเจตนาและความเชี่ยวชาญในการใช้คุณลักษณะพิเศษเฉพาะของเทคนิควิธีการทางภาพพิมพ์ แต่ละชนิดมาใช้ในการถ่ายทอดจินตนาการ ความคิด และอารมณ์ ความรู้สึกออกมาในผลงานได้โดยตรง แตกต่างกับการที่นำเอาผลงานจิตรกรรมที่สร้างสำเร็จไว้แล้วมาจำลองเป็นภาพโดยผ่านกระบวนการทางการพิมพ์
          ในการพิมพ์ผลงานแต่ละชิ้น ศิลปินจะจำกัดจำนวนพิมพ์ตามหลักเกณฑ์สากล ที่ศิลปสมาคมระหว่างชาติ ซึ่งไทยก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ได้กำหนดไว้โดยศิลปินผู้สร้างผลงานจะเขียนกำกับไว้ที่ด้านซ้ายของภาพ เช่น 3/30 เลข 3 ตัวหน้าหมายถึงภาพที่ 3 ส่วนเลข 30 ตัวหลังหมายถึงจำนวนที่ พิมพ์ทั้งหมด ในภาพพิมพ์บางชิ้นศิลปินอาจเซ็นคำว่า A/P ไว้แทนตัวเลขจำนวนพิมพ์ A/Pนี้ย่อมาจากArtist's Proof ซึ่งหมายความว่า ภาพๆนี้เป็นภาพที่พิมพ์ขึ้นมาหลังจากที่ศิลปินได้มีการทดลองแก้ไขจนได้คุณภาพสมบูรณ์ตามที่ต้องการ จึงเซ็นรับรองไว้หลังจากพิมพ์ A/P ครบตามจำนวน 10% ของจำนวนพิมพ์ทั้งหมด จึงจะเริ่มพิมพ์ให้ครบตามจำนวนเต็มที่กำหนดไว้ หลังจากนั้นศิลปินจะทำลายแม่พิมพ์ด้วยการขูดขีด หรือวิธีการอื่นๆ และพิมพ์ภาพสุดท้ายนี้ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน เรียกว่าCancellation Proofสุดท้ายศิลปินจะเซ็นทั้งหมายเลขจำนวนพิมพ์ วันเดือนปี และลายเซ็นของศิลปินเอง ไว้ด้านล่างขวาของภาพ เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพด้วยทุกชิ้น จำนวนพิมพ์นี้อาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความนิยมของ ตลาด และปัจจัยอื่นๆอีกหลายประการ
         สำหรับศิลปินไทยส่วนใหญ่จะจำกัดจำนวนพิมพ์ไว้ค่อนข้างต่ำประมาณ 5-10 ภาพ ต่อ ผลงาน 1 ชิ้น กฏเกณฑ์ที่ศิลปินทั่วโลกถือปฏิบัติกันเป็นหลักสากลนี้ย่อมเป็นการรักษามาตรฐานของภาพพิมพ์  ไว้ อันเป็นการส่งเสริมภาพพิมพ์ให้้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป