2556-01-19

ขอบเขตของการสร้างสรรค์และการลอกเลียนแบบศิลปะในวัฒนธรรม Modern และ Postmodern


การสร้างสรรค์งานศิลปะมักหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ในทางที่ดีคือได้รับคำชมว่าด้วยการสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และเป็นตัวของตัวเองไม่ซ้ำกันกับผลงานของใคร ในทางตรงกันข้ามกัน การได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในทางตรงหรือทางอ้อมว่าผลงานคล้ายคลึงกับผลงานของศิลปินที่เคยสร้างผลงานมาแล้ว
ซึ่งกล่าวโดยง่ายว่าเป็นการลอกเลียนแบบ หรือได้รับอิทธิพลจากศิลปินใดๆ ผลงานศิลปะชิ้นนั้นจึงกลายเป็นข้อ กังขาว่า เป็นผลงานสร้างสรรค์หรือการลอกเลียนแบบกันแน่ เหตุของความคล้ายคลึงในทางศิลปะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในแวดวง
ศิลปะบ้านเราเท่านั้น แต่ความคล้ายคลึงซึ่งเสมือนหนึ่งการลอกเลียนแบบนี้ได้เกิดขึ้นเป็นสากล ทั้งนี้เป็นเพราะทุกสิ่ง
ทุกอย่างในโลกใบนี้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ รวมถึงศิลปะด้วยนั้นได้ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่แทบทั้งสิ้นจน
หมดแล้วในยุคสมัยที่เรียกว่า ยุค
Modern ยุคปัจจุบันหรือ ที่เรียกกันค่อนข้างเป็นทางการอย่างโก้หรูว่า ยุค Postmodern 
หรือยุคหลังสมัยใหม่ จึงไม่มีอะไรใหม่นั่นไม่ได้หมายความว่านักประดิษฐ์คิดค้นคว้าต่างๆ หรือศิลปินไม่มีความคิด
สร้างสรรค์ แต่ดังที่กล่าวแล้วคือทุกอย่างได้ถูกคิดค้นขึ้นแล้วในยุค
Modern ในสมัยนี้จึงเป็นเสมือนหนึ่งตลาดขนาดใหญ่
สำหรับจับจ่ายใช้สอย และหยิบยืมนำมาใช้ในการอ้างอิง อ้างถึง ตลอดจนมีบทบาทและมีอิทธิพลสูงต่อการสร้างสรรค์ใน
ยุคนี้ฯลฯ การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆในยุค
Postmodern จึงไม่มีอะไรใหม่ แต่ความไม่มีอะไรใหม่ในผลงานนี่แหละคือความ
ใหม่ในวัฒนธรรม
Postmodern
ศิลปะในวัฒนธรรม Modern นั้นศิลปินสนใจ และสร้างงานจากความรู้และการเปลี่ยนแปลงของวิทยาศาสตร์ในราวคริสตศตวรรษที่ 18 - 19 หลังจากที่ นิวตัน ค้นพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วง ผลการค้นพบของนิวตันส่งผลให้เกิดโลกทัศน์ใหม่ เจมส์วัตต์ คิดค้นและประดิษฐ์กลจักรไอน้ำ เป็นการนำสังคมสู่ยุคอุตสาหกรรมโลหะ ยุคนี้จึงเป็นยุคแห่งการศึกษา เกิดทฤษฎีการมองแบบแยกส่วนนั่นคือทุกสิ่งทุกอย่างเกิดด้วยสาเหตุที่สืบต่อเนื่องกันตามกฎเกณฑ์ การมองแบบแยกส่วน
นั้นคือการวิเคราะห์แยกสิ่งต่างออกเป็นส่วนย่อยแล้วมองความสัมพันธ์ของส่วนย่อยนั้นๆ แนวคิดนี้เป็นแนวคิดในการ
ปฏิวัติทางอุตสาหกรรม การวิเคราะห์ลึกซึ้งในแต่ละสาขาก็ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในแต่ละสาขาด้วย
 
เป็นเหตุก่อเกิดการสังเคราะห์ ประดิษฐกรรมใหม่ๆ และการผลิตประดิษฐกรรมเป็นจำนวนมากๆเช่น กล้องถ่ายภาพ
 
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า โทรศัพท์ รถยนต์ เครื่องบิน ฯลฯ รวมทั้งการใช้ทรัพยากรและพลังงานต่างๆมากมาย ในทางศิลปะนั้น
ความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีทำให้เกิดศิลปะที่เรียกกันว่า
Modern Art หรือ ศิลปะสมัยใหม่ เมื่อนิวตันค้น
พบการเกิดสีต่างๆที่เกิดจากแสงส่องผ่านแท่งปริซึม และการค้นพบทฤษฎีแสงอาทิตย์ที่มีต่อการมองเห็นสี อันมีผลต่อการ
แสดงออกในผลงานของศิลปินกลุ่ม
Impressionism ซึ่งเป็นปฐมบทของศิลปะสมัยใหม่ หลังจากนั้นกลุ่ม
Neo- Impressionism ก็นำทฤษฎีรูปทรง และการใช้แบบเรขาคณิต และทฤษฎีการเกิดสีและรูปทรงที่เกิดจากจุดสีต่างๆ
ที่มีผลต่อการมองเห็นนำมาสร้างสรรค์ผลงาน ส่วนทฤษฎีความสัมพันธ์ของการวิเคราะห์แยกส่วนย่อยที่มีอิทธิพลในงาน
ศิลปะเช่น ศิลปินกลุ่ม
Cubism ซึ่งแสดงพลังแห่งเครื่องจักรกล และอุตสาหกรรมโดยนัย Cubism ใช้ Form และ Space 
สัมพันธ์กันเหมือน อิเล็กตรอน และ นิวเคลียส พอลล็อค และศิลปินในกลุ่ม
Abstract Expressionism ก็แสดงการ
เคลื่อนไหว และความสัมพันธ์ของสีดังเช่นทฤษฎีสัมพันธภาพและทฤษฎีควันตัมของ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ และทฤษฎีแนวคิด
จิตวิเคราะห์โดย ฟรอยด์ ก็ส่งอิทธิพลแก่ศิลปินกลุ่ม
Sur-realism หรือ ศิลปะ Op - art เกี่ยวกับจิตวิทยาของการรับรู้ทาง
สายตา
Pop Art ก็สะท้อนความ สนใจและได้รับอิทธิพลจากเทคโนโลยี และผลผลิตในอุตสาหกรรม ความเจริญอย่าง
รวดเร็วของเครื่องจักรกลและวิทยาการทางเทคโนโลยีต่างๆ ก็ส่งผลสะท้อนในงาน
Futurism ดังนี้เป็นต้น ศิลปะสมัยใหม่ 
จึงแตกแยกสาขาต่างๆ มากมายเช่นเดียวกับการคิดค้นทางวิทยาการและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกันตามกระแสวัฒนธรรม
Modern
คิม เลวิน นักวิจารณ์ศิลปะกล่าวว่า ศิลปะสมัยใหม่มีลักษณะที่เด่นชัดดังนี้คือ
Ahistorical นับถือค่านิยมแบบนักวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์นิยม ศิลปะนิยมด้วย และไม่สนใจ ประวัติศาสตร์ หรือศิลปะ
ในอดีต มุ่งเน้นการคิดค้นสิ่งใหม่ๆเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์
Scientific ( Analytical ) ศิลปะสมัยนี้เป็นเรื่องการวิเคราะห์แบ่งแยกเพื่อความเข้าใจ
Self - Referentical ศิลปะมีความหมายที่ตัวของมันเอง อะไรที่อยู่นอกศิลปะวัตถุจะไม่เกี่ยวข้อง
Reductionistic ตัดส่วนที่ไม่จำเป็น หรือไม่สำคัญทิ้งจนเหลือเฉพาะ แกน เป็นค่านิยมที่สำคัญของศิลปะในสมัยนี้
Competition มีการแข่งขันเหมือนวัตถุนิยม มีการเสี่ยง การลงทุน เพื่อความก้าวหน้า
Meyer Shapiro กล่าวว่า ศิลปะสมัยใหม่นิยมสิ่งประดิษฐ์ เราสร้างศิลปวัตถุแทนที่จะเป็นภาพที่เราสร้างขึ้น Shapiro เน้น
ว่างานศิลปะสมัยใหม่นี้เป็นศิลปวัตถุ
ศิลปะสมัยใหม่เริ่มต้นจาก Impressionism เรื่อยมาจนถึง Minimal Art ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นปลายยุคของวัฒนธรรม Modern ความเคลื่อนไหวของศิลปะในสมัยนี้สะท้อนถึงความสนใจของศิลปินที่มีต่อวิทยาการและเทคโนโลยี หรือผลผลิตจากกระบวนการในอุตสาหกรรม ศิลปินต่างยอมรับค่านิยมของผู้บริโภค ยอมรับบทบาทความเคลื่อนไหวของระบบเศรษฐกิจ วัสดุ และวิธีการสร้างงานคล้ายคลึงกับระบบโรงงานอุตสาหกรรม คิม เลวิน อ้างว่า อนาคตของเทคโนโลยียิ่งใหญ่ ศิลปินยอมรับ ศิลปินบางคนใช้วิธิการสร้างแบบแล้วส่งไปผลิตผลงานศิลปะในโรงงานดังเช่นศิลปินในกลุ่ม Minimal ฯลฯศิลปินในสมัยนี้จึงมีหน้าที่เสมือนนักวิทยาศาสตร์ที่มุ่งผลิตและค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นยุคสมัยแห่งการค้นพบ วิทยาศาสตร์ และศิลปะจึงมีลักษณะร่วมกันคือคนดูไม่รู้เรื่อง และเข้าใจยาก ศิลปะเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกับประชาชน และอยู่ในมือของคนรวย การดูงานศิลปะจำต้องมีความรู้จึงจะเข้าใจ เปรียบกับวิทยาศาสตร์ที่มีคนน้อยคนที่จะเข้าใจเช่นเดียวกัน การกระหายสิ่งใหม่ เบื่อขอบเขตของศิลปะแบบเดิมๆ ต้องมีอะไรแปลกใหม่ตลอดไม่รู้จบเหมือนการตลาดจึงเป็นลักษณะของศิลปะในวัฒนธรรม Modernวัฒนธรรมสมัยใหม่จึงมีทัศนคติ และมีสัญลักษณ์คล้าย ตาราง ( Grid ) สำหรับวัดมาตรฐานสิ่งต่างๆว่ามีค่าหรือไม่มีค่าศิลปินและนักวิทยาศาสตร์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นอัจฉริยะ
หากแต่วัฒนธรรมย่อมมีการเปลี่ยนแปลง และนั่นหมายถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะด้วย
ราวปลายปี 1960 ศิลปินเริ่มหันกลับมามองสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เริ่มสงสัยในเทคโนโลยี และมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ชัดเจน โดยเฉพาะ ในปี ค.ศ. 1968 ได้เกิดสงครามเวียตนาม ทำให้อเมริกันชนเริ่มสงสัยในการอ้างถึงความยิ่งใหญ่ของเทคโนโลยีของตน ความสงสัยเกิดขึ้นภายในใจของหลายๆคนว่าเทคโนโลยีสามารถนำพาชีวิตให้ดีขึ้นจริงหรือ หากดีขึ้นจะดีกว่าหรือแย่กว่าการดำเนินตามวิถีธรรมชาติ การถ่ายภาพทางอากาศรูปโลกของเราทำให้มองเห็นความสำคัญของธรรมชาติ และหันกลับมาถามตัวเองว่าเวลานี้ธรรมชาติอยู่ที่ไหน ต้นไม้ในกระถาง? ต้นไม้พันธุ์ใหม่ที่ถูกคิดค้น? สัตว์ในกรง? สัตว์เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร? สัตว์เลี้ยงในบ้าน?ฯลฯ หรือสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่กระบวนการ มีการต่อต้านการใช้เทคโนโลยีในทางที่ไม่ถูกต้อง เทคโนโลยีใหม่ให้ผลร้าย ไม่รับผิดชอบ วิทยาศาสตร์ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลข้างเคียงจากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น และมองโลกในแง่ร้ายจากผลของการกระทำในยุค Modern มีการแสดงดนตรีใน Central Park สำหรับหนุ่มสาวที่ปฏิเสธค่านิยม Modern การแสดงดนตรี Woodstock นี้ มีผู้เข้าร่วมในกิจกรรมถึง 100000 คน หลายแห่งในเมืองใหญ่ๆของโลกเกิดการเดินขบวนเพื่อสิทธิ เสรีภาพ การรวมกลุ่มกันของชนชั้นกรรมาชีพ และมวลชน หรือกลุ่มหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่มีทัศนะแตกต่างกับอำนาจรัฐ และค่านิยมในวัฒนธรรม Modern การเกิดจราจลที่เกิดจากการแบ่งแยกสีผิวและคลี่คลายไปสู่ความเข้าใจ เป็นเหตุให้วัฒนธรรมตะวันตกจำเป็นต้องหันมองวัฒนธรรมตะวันออกและทำความเข้าใจอย่างถี่ถ้วน เป็นต้น
ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการขบถต่อจารีตเชิงอนุรักษ์แบบวัฒนธรรม Modern และการเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม นำเราก้าวเข้าสู่วัฒนธรรมแห่งการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกกับตะวันออกวัฒนธรรมเก่ากับวัฒนธรรมใหม่ วัฒนธรรมชั้นสูงกับวัฒนธรรมมวลชน ศิลปะและวัฒนธรรมจึงถูกนำเสนอในชีวิตประจำวันในลักษณะที่เป็นศิลปะของมวลชนมากขึ้น ศิลปินรุ่นใหม่ที่เป็นศิลปินหนุ่มสาวต่อต้านการซื้อขายและสะสม
ศิลป สมบัติ สร้างงานจากเศษชิ้นส่วน และทำลายผลงานส่งกลับคืนธรรมชาติ หรือนำวัสดุที่ใช้แล้วนำมาใช้ใหม่ ศิลปิน
สนใจกระบวนการบันทึก และสถานการณ์แทนศิลปะวัตถุ ศิลปะเหลือเพียงแค่การรายงาน มีการยอมรับการถ่ายภาพ
เป็นศิลปะ ศิลปินอยากสร้างสิ่งที่เป็นจริง ภาพถ่ายเป็นการบันทึก เวลา สถานที่ เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นความจริง
 
Linda Nochlin (นักวิจารณ์ศิลปะ) กล่าวว่า"ศิลปะไม่ใช่การเปรียบเทียบ แต่เป็นความจริง ทฤษฎี ประวัติศาสตร์ และ
ความรู้ เป็นสิ่งที่แยกศิลปะออกจากชีวิตประจำวัน"
Donald Karshan นักวิจารณ์และศิลปินConceptual โจมตีความคิดที่
สนับสนุน วัฒนธรรม
Modern ที่ว่า องค์ประกอบศิลป์มีพลังอำนาจ และเป็นแกนของศิลปะ เขากล่าวว่า อย่านำทฤษฎีองค์ประกอบศิลป
์มาวิเคราะห์ศิลปะ
Postmodern
เขียนโดย โดย อ.นภพงษ์ กู้แร่ 
เอกสารประกอบการเขียน
Hertz, Richard., Editor. Theory of Contemporary Art. 1985.
Levin, Kim. Farewell to Modernism. 1979.
Mayer, Ralph. A Dictionary of Art Terms and Techniques. 1981.
Karshan, Donald. A Manifesto. 1970.
Nochlin, Linda. The Realist Criminal and the Abstract Law. 1985.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น